ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์-กิจกรรม
 ทำเนียบคณะกรรมการ
 ข่าวสารประชาสัมพันธ์
 กิจกรรมและงานของเรา
 นักธุรกิจรุ่นใหม่ YEC
 ข่าวเศรษฐกิจ
 สถานที่ท่องเที่ยว
วันนี้ 995
เมื่อวาน 1,189
สัปดาห์นี้ 4,598
สัปดาห์ก่อน 15,423
เดือนนี้ 42,554
เดือนก่อน 35,568
ทั้งหมด 1,459,903
  Your IP :3.15.156.140

การประชุมคณะกรรมการหอการค้ากลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1

               วันที่ 13 มกราคม 2561 เวลา 13.00 น. นายเจตน์  เกตุจำนงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ พร้อมรองประธานและที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการหอการค้ากลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย บึงกาฬ) ครั้งที่ 1 /2561 ณ ห้องประชุมสิรินธารา โรงแรมเดอะวัน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ โดย ดร.สมศักดิ์ ขจรเฉลิมศักดิ์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดฯ เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งในที่ประชุมได้หารือประเด็นแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือ 1. ด้านการค้าการลงทุน 2. ด้านเกษตร 3. ด้านการท่องเที่ยว และรายงานความคืบหน้า การดำเนินโครงการ/แผนงานในการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ของหอการค้าจังหวัด 5 จังหวัด ตลอดจนหารือในประเด็นการทบทวนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในประเด็นด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ อาทิ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS Economic Corridors) เป็นการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ให้เป็นจุดเด่นเพื่อสร้างจุดขายในแต่ละพื้นที่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวประเทศจีนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่ในทางกลับกันนักท่องเที่ยวเหล่านั้นเดินทางมาท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้น จึงควรมีการจัดทำแผนการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขงโดยทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมกันวางแผนหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันให้บังเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมถึงเสนอให้หอการค้ากลุ่มจังหวัด เสนอโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เพื่อส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยมีแนวทางการพัฒนาดำเนินงานในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษตามประกาศรัฐบาล ในส่วนภาครัฐต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงส่งเสริมการลงทุนและอำนวยความสะดวก ส่วนของภาคเอกชนต้องพัฒนาอุตสาหกรรม และการร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เพื่อเสนอรัฐบาลดำเนินการต่อไป โดยดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าหากหอการค้ากลุ่มฯ มีแผนงาน/โครงการที่จะนำเสนอ รัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ นำโดยนายเจตน์ เกตุจำนงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ได้กล่าวว่า ศักยภาพของจังหวัดบึงกาฬคือมีภูมิประเทศที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีภูมิประเทศที่สามารถเชื่อมต่อด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การเกษตร และด้านอื่นๆ ตามเส้นทางแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว จังหวัดเงะอานห์ เชื่อมกับเมืองหนานหนิง มลฑลกวางซี (จีนตอนใต้) ได้ทั้งระบบล้อ และระบบราง อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับท่าเรือ เมืองวินห์ พร้อมนำเสนอแผนงาน/โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดบึงกาฬต่อที่ประชุม 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง โดยนำเสนอโครงการหาดบึงกาฬเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ 2) เพื่อพัฒนาทางการค้า การเพิ่มมูลค่าทรัพยาการ สนับสนุนให้เกิดการเพิ่มมูลค่าหมุนเวียนทางการเงิน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งการกีฬา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม 4) เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มประชาคมอาเซียน 
2. ด้านการค้าชายแดน โดยรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-ปากซัน) ว่า อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 ว่าปัจจุบันออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว ลงเงินค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท ฝ่ายไทยจะเสนอขอใช้เงินงบประมาณก่อสร้าง ส่วนฝ่าย สปป.ลาว ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะใช้แหล่งเงินกู้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านหรือเนด้า โดยแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 3 ส่วนคือ ถนนและด่านแต่ละฝั่งให้ประเทศเจ้าของพื้นที่รับผิดชอบ ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขงแบ่งความรับผิดชอบคนละครึ่งนับจากกึ่งกลางสะพาน ส่วนรายละเอียดขั้นตอนการประกวดราคา จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-สปป.ลาว เนด้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง ตามแผนจะก่อสร้างภายในปี 2562 ใช้เวลาการก่อสร้าง 3 ปี
3. ด้านการเกษตร โดยนำเสนอแผนงานการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านยางพารา การผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมยาง เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับหนึ่งของโลกจึงมีโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปเบื้องต้น และจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 887,852 ไร่ ที่มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงมีโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงพัฒนาการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางในชั้นปลาย ตามห่วงโซ่อุตสาหกรรมยาง ต้นน้ำ -> กลางน้ำ -> ปลายน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ายางพารา อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ล้อรถยนต์/ล้อรถมอเตอร์ไซร์ หมอนยางพารา ถุงมือทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น
โดยจังหวัดบึงกาฬได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา 5 โรงงานงบประมาณดำเนินการ จำนวน 243 ล้านบาท และชี้แจงต่อที่ประชุมให้ทราบอีกว่า ถ้าเราทำให้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราต่างๆก็จะทำให้เกิด margin สูงขึ้นมาก อีกอย่างหนึ่งปัจจุบันมีผู้บริโภคหลายประเทศนิยมสินค้าที่มีส่วนประกอบที่เป็นลักษณะของยาง คือนุ่ม ทนทาน และยืดหยุ่นได้ดี ซึ่งยังมีอีกหลายๆ product ที่น่าสนใจ นำยางพารามาเป็นวัตถุดิบแปรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อให้กลุ่มจังหวัดนำกรอบแนวคิดนี้ไปต่อยอดในแต่ละจังหวัดที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดให้เกิดการพัฒนาในอนาคตที่ยั่งยืนต่อไปได้ ตลอดจนหารือแผนงานการพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการลุ่มน้ำสงครามที่เชื่อมโยงทั้ง 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ เลย และจังหวัดสกลนคร รวมถึงหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงตอนบน 1 และหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ควรมีการบูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน
01
02
03
04
05
06
07
08
09
10
11
12
13
14
15
16
17
Share on Facebook
 
 
Copyright © 2013-2015 www.bkchamber.com All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus